Created Date: 16 May
การจัดชุด สัญญาณกันขโมย ชุดสินค้า บ้าน ให้ตรง ความต้องการ ของบ้านคุณ
หลายคนเมื่อได้ศึกษาสินค้าแล้วก็ต่างมีความสงสัยเกียวกับตัวสินค้า และการทำงาน และคงยังไม่มีไอเดียว่าจะจัดชุดสินค้าให้กับบ้านตัวเองอย่างไร ในวันนี้เราจะมาแนะนำการจัดชุด สัญญาณกันขโมย บ้าน ให้ตรง ความต้องการ ของบ้านคุณ
หลายคนเมื่อได้ศึกษาสินค้าแล้วก็ต่างมีความสงสัยเกี่ยวกับตัวสินค้า และการทำงาน และคงยังไม่มีไอเดียว่าจะจัดชุดสินค้าให้กับบ้านตัวเองอย่างไร ในวันนี้เราจะมาแนะนำการจัดชุด สัญญาณกันขโมย บ้าน ให้ตรง ความต้องการ ของบ้านคุณ
เริ่มต้นการวางแผนด้วยการเช็คบ้านของลูกค้าว่ามีแบบบ้านอยู่ในมืออยู่แล้วหรือไม่ แบบบ้านนี้จะใช้ในการวางแผนการจัดชุดสินค้าได้ดี ถ้ามีอยู่แล้วอาจจะเอาแบบบ้านขึ้นมากางดู หรือมาใช้ประกอบการวางแผนได้ในบทความนี้ สำหรับบ้านเก่าที่ไม่มีข้อมูลเหล่านี้ อาจจะใช้การอ้างอิงจากแนวทางของบ้านใหม่ หรือใช้การเดินเช็ครอบตัวบ้านด้วยตัวเองก็ทำได้เช่นกัน
ยกตัวอย่างแบบบ้านที่เป็นทาวน์เฮ้าส์ขนาดประมาณ 30ตารางวา 2ชั้น มาดูกันว่าเราจะมีแนวทางการวางแผนจัดชุดสินค้าอย่างไรกันบ้าง
จากแบบบ้านนี้เราจะเริ่มต้นนับทุกจุดที่เป็นจุดเข้าออกของบ้านเพื่อคำนวณการติดเซ็นเซอร์ประตูหน้าต่าง โดยคำแนะนำของเราจะแนะนำให้ ติดที่ทางเข้าออกของชั้น1 และจุดเข้าออกที่เสี่ยงของทุกชั้น คำนิยามของความเสี่ยงคือ จุดเข้าออกนั้นๆสามารถเข้าออกได้โดยง่าย เช่น ประตูทางเข้าชั้น 2 ที่มีระเบียงให้ยืนได้ และยังสามารถปีนขึ้นจากชั้น 1 ได้อีก แต่ไม่ได้หมายถึงทุกจุดของทุกชั้น เพราะจะเปลืองค่าใช้จ่ายจนเกินไป ให้ลูกค้าเน้นจุดที่มีความเสี่ยงเป็นหลักก็เพียงพอ
เซ็นเซอร์ประตูหน้าต่าง/Door&Window sensor
จากแบบบ้านตัวอย่างนี้ เราได้วางแผนในการติดเซ็นเซอร์ประตูหน้าต่างในจุดที่เสี่ยงมาก (สีแดง) ไว้รวม 3 จุด ได้แก่ 1.ทางเข้าหน้าบ้าน 2.ทางเข้าหลังบ้าน 3.ระเบียงห้องชั้น2 เนื่องจากทางเข้าของบ้านเป็นจุดที่ผู้บุกรุกมักงัดแงะเข้ามามากที่สุด รวมไปถึงจุดระเบียงชั้นสอง เมื่อเป็นบ้านทาวน์เฮาส์ กำแพงมักจะติดกับตัวบ้าน ทำให้มีโอกาสการปีนขึ้นจากชั้น 1 ได้ง่าย
ต่อมาจะเป็นจุดที่เสี่ยงปานกลาง (สีส้ม) ซึ่งต้องตรวจสอบร่วมกับเจ้าบ้านถึงความเสี่ยงในจุดนั้นได้แก่ 1.ระเบียงคอมเพลสเซอร์แอร์ชั้น2 จุดนี้ต้องตรวจสอบว่า หน้าต่างระบายอากาศของห้องน้ำสามารถปีนเข้าห้องได้หรือไม่ 2.หน้าต่างระบายอากาศห้องน้ำชั้น1 ซึ่งจุดนี้ตามแบบบ้านไม่มี แต่ควรตรวจสอบอีกครั้งว่ามีหน้าต่างไหม เพราะเป็นอีกจุดเสี่ยงที่เข้าบ้านได้ง่ายกว่าการงัดแงะประตู 3.ระเบียงด้านหลังชั้น2 ซึ่งหากดูจากแบบบ้านแล้ว บ้านนี้แทบไม่ความเสี่ยงเลย เพราะด้านหลังเป็นพื้นที่สวน การปีนขึ้นชั้น 2ทำได้ยาก เว้นแต่จะมีการต่อเติมครัวจะกลายเป็นจุดที่ต้องติดตั้งหรือผู้บุกรุกนั้นมาพร้อมกับบันไดสำหรับการปีน 4.หน้าต่างทางขึ้นบันได เป็นอีกหนึ่งจุดที่หลายบ้านมองข้าม แต่กลับเป็นทางที่สามารถเข้าสู่บ้านได้ง่ายเหลือเชื่อ จึงควรตรวจสอบอีกครั้งว่าเป็นหน้าต่างลักษณะไหน
เราจะแอบจุด (สีเขียว) เอาไว้ในแบบบ้านเหมือนกันกับจุดที่บางที่ลูกค้าจะถามว่า ทำไมจุดนี้ก็มีประตูไม่ติด แต่จุดนั้นเป็นแค่ประตูห้องเก็บของที่ใช้เข้าบันได ที่แม้จะอยู่ส่วนที่ล้อมรอบตัวบ้าน แต่ไม่สามารถเข้าสู่ตัวบ้านได้ เว้นแต่ลูกค้ามีการเก็บของมีค่าไว้เช่น จักรยาน เครื่องใช้ไฟฟ้า แล้วต้องการติดตั้งด้วยก็สามารถทำได้
จากการสำรวจแบบบ้านที่หลากหลาย บ้านแต่ละหลังก็จะมีรูปแบบประตูที่แตกต่างกัน ตามวัตถุประสงค์และการใช้งานของจุดนั้นๆ แต่เกือบทุกประเภทประตู จะสามารถใช้เซ็นเซอร์ประตูทุกรุ่นได้ทั้งหมด จากตัวอย่างภาพรูปแบบประตูด้านบน แสดงให้เห็นประเภทประตูที่หลากหลาย สำหรับประตูในบรรทัดบนนั้น สามารถใช้เซ็นเซอร์ประตูได้ทุกชนิด ส่วนประตูบรรทัดล่าง ลำดับแรกคือ ประตูอะลูมิเนียมเปิด2ด้าน เป็นประตูที่มีขนาดใหญ่ และมีขอบประตูไม่แนบสนิทกับวงกบ หากเป็นประตูที่เปิดได้ด้านเดียว จะสามารถติดเซ็นเซอร์ได้ทุกชนิด แต่หากประตูสามารถเปิดได้ทั้ง 2ด้านเข้า-ออก จะต้องใช้เซ็นเซอร์รุ่น DM31 เท่านั้น / สำหรับประตูเลื่อนที่เป็นกระจกที่เป็นนิยมในบ้านสมัยใหม่ หากเป็นแบบเปิดฝั่งเดียวสามารถใช้ได้ทุกเซ็นเซอร์ แต่หากเป็นเปิดสองฝั่งจะต้องดูความหนาของบานประตูว่าหนาถึง2.5ซม.หรือไม่ เพราะหากบานประตูมีความหนาเพียงพอ เราสามารถติดตั้งเซ็นเซอร์ประตูเพียงจุดเดียวที่ส่วนกลางของประตูได้ โดยไม่ต้องเปลือง 2 เซ็นเซอร์ ตามอักษร A แต่หากความหนาของประตูน้อยกว่านั้น จะต้องติดทั้ง 2 ฝั่งแบบอักษร B แต่หากเป็นประตูที่แยกฝั่งกันแบบประตู C นั้น จำเป็นต้องใช้ 2 เซ็นเซอร์ในการทำงาน
เซ็นเซอร์แต่ละรุ่นเหมาะกับการใช้งานแบบไหน
เซ็นเซอร์กลุ่มนี้เป็นเซ็นเซอร์ทั่วที่นิยมใช้สูงสุด โดยผู้ใช้นิยมใช้ DM30 มากกว่าด้วยการดีไซน์ที่สวยงามและการซ่อนเสาอากาศ ส่วนบ้านที่สนใจเรื่องราคาเป็นหลักก็จะใช้เซ็นเซอร์รุ่น DM22 ที่ราคาถูกกว่า และสามารถส่งสัญญาณได้ไกลกว่า
สำหรับเซ็นเซอร์รุ่น DM31 เป็นเซ็นเซอร์รุ่นเดียวที่ตัวจับแม่เหล็กสามารถอยู่ใน ระยะห่างกันได้สูงสุดถึง 2-3ซม. จึงเหมาะกับการติดตั้งกับประตูขนาดใหญ่เช่น ประตูทึบ ประตูม้วน ประตูอะลูมิเนียมเปิดปิดสองด้าน ซึ่งตัวเซ็นเซอร์ที่ส่งสัญญาณจะสามารถติดตั้งห่างจากจุดที่แม่เหล็กอยู่ได้ ทำให้เซ็นเซอร์ยังสามารถทำงานได้ดีกับประตูขนาดใหญ่ หรือประตูที่มีความห่างของช่องประตูมาก
เซ็นเซอร์ตรวจจับความเคลื่อนไหว/PIR motion sensor
สำหรับคำแนะนำในการติดเซ็นเซอร์ตรวจจับความเคลื่อนไหว ถ้าหากบ้านของลูกค้าได้ติดเซ็นเซอร์ประตูหน้าต่างครอบคลุมทุกจุดเข้าออกของบ้านแล้ว เราจะแนะนำให้ติดเซ็นเซอร์ความเคลื่อนไหวแค่ชั้นละ 1จุด บริเวณจุดที่ต้องเดินผ่านของชั้นนั้น. สำหรับบ้านตัวอย่างนี้ มี 2ชั้น เราจึงวางแนวทางให้ติดที่โถงชั้น1ก่อนขึ้นบันได เนื่องจากเป็นจุดที่แน่นอนว่าถ้ามีผู้บุกรุกเข้ามา ก็ต้องเดินผ่านเพื่อขึ้นไปยังจุดเก็บทรัพย์สินคือชั้น2 และบริเวณชั้น2ก่อนเข้าแต่ละห้อง เพื่อจับก่อนเข้าห้องต่างๆ แต่ทำไมถึงไม่ติดในห้องนอนเลยล่ะ? คำตอบก็คือ เนื่องจากเซ็นเซอร์เหล่านี้จะมีการส่งแสงสีแดงเมื่อมีการตรวจจับทุกครั้ง ซึ่งแสงสีแดงนี้อาจรบกวนเจ้าบ้านในยามค่ำคืนได้ จึงแนะนำการติดในจุดโถงของชั้น2ดีกว่า เพราะถึงแม้จะเป็นเคสว่าผู้บุกรุกเข้าทางห้องนอน สุดท้ายผู้บุกรุกก็จะข้ามไปห้องอื่นเพื่อหาทรัพย์สิน หรือเดินลงทางชั้น1 ก็จะทำให้เซ็นเซอร์ตรวจจับได้อยู่ดี
สำหรับลูกค้าที่กลัวเคสที่ผู้บุกรุกจะไม่เปิดประตูหน้าต่างเข้ามาตามที่เราติดตั้ง เซ็นเซอร์ความเคลื่อนไหวก็จะเป็นอีกตัวหนึ่งที่ช่วยกรองการตรวจจับกรณีผู้บุกรุกเข้าผ่านกระจกมาโดยไม่เปิดประตูได้อีกด้วย
เซ็นเซอร์แต่ละรุ่นเหมาะกับการใช้งานแบบไหน
เซ็นเซอร์รุ่นPR30เป็นเซ็นเซอร์ที่นิยมใช้สูงสุด ด้วยการดีไซน์ที่สวยงามและการซ่อนเสาอากาศรวมถึงการมีสวิตซ์เปิดปิดในตัว สามารถปรับความถี่ในการตรวจจับได้ และสามารถทำงานได้อย่างเสถียร
สำหรับเซ็นเซอร์ในกลุ่มนี้จะเป็นเซ็นเซอร์ที่เหมาะกับบ้านที่ เลี้ยงสัตว์เลี้ยง หรือมีความต้องการใช้งานภายนอกบ้าน โดยจะเป็นเซ็นเซอร์กลุ่มที่สามารถกรองการตรวจจับสัตว์เลี้ยงที่มีขนาดและน้ำหนักไม่เกินที่กำหนด รวมไปถึงมีคุณสมบัติในการป้องกันน้ำในรุ่น PR88
กล่องควบคุม/Control panel
สำหรับแนวทางในการเลือกกล่องควบคุมนั้นจะขึ้นอยู่กับความต้องการของลูกค้า ว่ามีการต้องการการแจ้งเตือนแบบไหนบ้าง ก็จะมีรูปแบบที่แบ่งได้ประมาณ 4รูปแบบคือ
1. การแจ้งเตือน ณ จุดเกิดเหตุเพียงอย่างเดียว (DM02,SI08)
2. การแจ้งเตือน ณ จุดเกิดเหตุและผ่านแอพพลิเคชั่นบนมือถือ (CS08,CS05)
3. การแจ้งเตือน ณ จุดเกิดเหตุและผ่านการโทรศัพท์ด้วยเสียงและการส่งข้อความSMS (CG18)
4. การแจ้งเตือน ณ จุดเกิดเหตุ และผ่านแอพพลิเคชั่น และการโทรด้วยเสียง และข้อความ SMS (CW30,CW22,CW18)
แต่หากคุณลูกค้ายังมีข้อสงสัย หรือยังไม่สามารถจัดชุดสินค้าได้ และต้องการคำปรึกษาจากเรา สามารถติดต่อเราเข้ามาได้ทุกช่องทางการติดต่อเลยครับ ทั้ง
Facebook/jlhome.th หรือ
LINE @JLhome
พวกเรา JL home ยินดีให้คำปรึกษาครับ
หลายคนเมื่อได้ศึกษาสินค้าแล้วก็ต่างมีความสงสัยเกี่ยวกับตัวสินค้า และการทำงาน และคงยังไม่มีไอเดียว่าจะจัดชุดสินค้าให้กับบ้านตัวเองอย่างไร ในวันนี้เราจะมาแนะนำการจัดชุด สัญญาณกันขโมย บ้าน ให้ตรง ความต้องการ ของบ้านคุณ
เริ่มต้นการวางแผนด้วยการเช็คบ้านของลูกค้าว่ามีแบบบ้านอยู่ในมืออยู่แล้วหรือไม่ แบบบ้านนี้จะใช้ในการวางแผนการจัดชุดสินค้าได้ดี ถ้ามีอยู่แล้วอาจจะเอาแบบบ้านขึ้นมากางดู หรือมาใช้ประกอบการวางแผนได้ในบทความนี้ สำหรับบ้านเก่าที่ไม่มีข้อมูลเหล่านี้ อาจจะใช้การอ้างอิงจากแนวทางของบ้านใหม่ หรือใช้การเดินเช็ครอบตัวบ้านด้วยตัวเองก็ทำได้เช่นกัน
ยกตัวอย่างแบบบ้านที่เป็นทาวน์เฮ้าส์ขนาดประมาณ 30ตารางวา 2ชั้น มาดูกันว่าเราจะมีแนวทางการวางแผนจัดชุดสินค้าอย่างไรกันบ้าง
จากแบบบ้านนี้เราจะเริ่มต้นนับทุกจุดที่เป็นจุดเข้าออกของบ้านเพื่อคำนวณการติดเซ็นเซอร์ประตูหน้าต่าง โดยคำแนะนำของเราจะแนะนำให้ ติดที่ทางเข้าออกของชั้น1 และจุดเข้าออกที่เสี่ยงของทุกชั้น คำนิยามของความเสี่ยงคือ จุดเข้าออกนั้นๆสามารถเข้าออกได้โดยง่าย เช่น ประตูทางเข้าชั้น 2 ที่มีระเบียงให้ยืนได้ และยังสามารถปีนขึ้นจากชั้น 1 ได้อีก แต่ไม่ได้หมายถึงทุกจุดของทุกชั้น เพราะจะเปลืองค่าใช้จ่ายจนเกินไป ให้ลูกค้าเน้นจุดที่มีความเสี่ยงเป็นหลักก็เพียงพอ
เซ็นเซอร์ประตูหน้าต่าง/Door&Window sensor
จากแบบบ้านตัวอย่างนี้ เราได้วางแผนในการติดเซ็นเซอร์ประตูหน้าต่างในจุดที่เสี่ยงมาก (สีแดง) ไว้รวม 3 จุด ได้แก่ 1.ทางเข้าหน้าบ้าน 2.ทางเข้าหลังบ้าน 3.ระเบียงห้องชั้น2 เนื่องจากทางเข้าของบ้านเป็นจุดที่ผู้บุกรุกมักงัดแงะเข้ามามากที่สุด รวมไปถึงจุดระเบียงชั้นสอง เมื่อเป็นบ้านทาวน์เฮาส์ กำแพงมักจะติดกับตัวบ้าน ทำให้มีโอกาสการปีนขึ้นจากชั้น 1 ได้ง่าย
ต่อมาจะเป็นจุดที่เสี่ยงปานกลาง (สีส้ม) ซึ่งต้องตรวจสอบร่วมกับเจ้าบ้านถึงความเสี่ยงในจุดนั้นได้แก่ 1.ระเบียงคอมเพลสเซอร์แอร์ชั้น2 จุดนี้ต้องตรวจสอบว่า หน้าต่างระบายอากาศของห้องน้ำสามารถปีนเข้าห้องได้หรือไม่ 2.หน้าต่างระบายอากาศห้องน้ำชั้น1 ซึ่งจุดนี้ตามแบบบ้านไม่มี แต่ควรตรวจสอบอีกครั้งว่ามีหน้าต่างไหม เพราะเป็นอีกจุดเสี่ยงที่เข้าบ้านได้ง่ายกว่าการงัดแงะประตู 3.ระเบียงด้านหลังชั้น2 ซึ่งหากดูจากแบบบ้านแล้ว บ้านนี้แทบไม่ความเสี่ยงเลย เพราะด้านหลังเป็นพื้นที่สวน การปีนขึ้นชั้น 2ทำได้ยาก เว้นแต่จะมีการต่อเติมครัวจะกลายเป็นจุดที่ต้องติดตั้งหรือผู้บุกรุกนั้นมาพร้อมกับบันไดสำหรับการปีน 4.หน้าต่างทางขึ้นบันได เป็นอีกหนึ่งจุดที่หลายบ้านมองข้าม แต่กลับเป็นทางที่สามารถเข้าสู่บ้านได้ง่ายเหลือเชื่อ จึงควรตรวจสอบอีกครั้งว่าเป็นหน้าต่างลักษณะไหน
เราจะแอบจุด (สีเขียว) เอาไว้ในแบบบ้านเหมือนกันกับจุดที่บางที่ลูกค้าจะถามว่า ทำไมจุดนี้ก็มีประตูไม่ติด แต่จุดนั้นเป็นแค่ประตูห้องเก็บของที่ใช้เข้าบันได ที่แม้จะอยู่ส่วนที่ล้อมรอบตัวบ้าน แต่ไม่สามารถเข้าสู่ตัวบ้านได้ เว้นแต่ลูกค้ามีการเก็บของมีค่าไว้เช่น จักรยาน เครื่องใช้ไฟฟ้า แล้วต้องการติดตั้งด้วยก็สามารถทำได้
ชนิดประตูมีผลต่อจำนวน/รูปแบบเซ็นเซอร์ไหม
จากการสำรวจแบบบ้านที่หลากหลาย บ้านแต่ละหลังก็จะมีรูปแบบประตูที่แตกต่างกัน ตามวัตถุประสงค์และการใช้งานของจุดนั้นๆ แต่เกือบทุกประเภทประตู จะสามารถใช้เซ็นเซอร์ประตูทุกรุ่นได้ทั้งหมด จากตัวอย่างภาพรูปแบบประตูด้านบน แสดงให้เห็นประเภทประตูที่หลากหลาย สำหรับประตูในบรรทัดบนนั้น สามารถใช้เซ็นเซอร์ประตูได้ทุกชนิด ส่วนประตูบรรทัดล่าง ลำดับแรกคือ ประตูอะลูมิเนียมเปิด2ด้าน เป็นประตูที่มีขนาดใหญ่ และมีขอบประตูไม่แนบสนิทกับวงกบ หากเป็นประตูที่เปิดได้ด้านเดียว จะสามารถติดเซ็นเซอร์ได้ทุกชนิด แต่หากประตูสามารถเปิดได้ทั้ง 2ด้านเข้า-ออก จะต้องใช้เซ็นเซอร์รุ่น DM31 เท่านั้น / สำหรับประตูเลื่อนที่เป็นกระจกที่เป็นนิยมในบ้านสมัยใหม่ หากเป็นแบบเปิดฝั่งเดียวสามารถใช้ได้ทุกเซ็นเซอร์ แต่หากเป็นเปิดสองฝั่งจะต้องดูความหนาของบานประตูว่าหนาถึง2.5ซม.หรือไม่ เพราะหากบานประตูมีความหนาเพียงพอ เราสามารถติดตั้งเซ็นเซอร์ประตูเพียงจุดเดียวที่ส่วนกลางของประตูได้ โดยไม่ต้องเปลือง 2 เซ็นเซอร์ ตามอักษร A แต่หากความหนาของประตูน้อยกว่านั้น จะต้องติดทั้ง 2 ฝั่งแบบอักษร B แต่หากเป็นประตูที่แยกฝั่งกันแบบประตู C นั้น จำเป็นต้องใช้ 2 เซ็นเซอร์ในการทำงาน
เซ็นเซอร์แต่ละรุ่นเหมาะกับการใช้งานแบบไหน
เซ็นเซอร์กลุ่มนี้เป็นเซ็นเซอร์ทั่วที่นิยมใช้สูงสุด โดยผู้ใช้นิยมใช้ DM30 มากกว่าด้วยการดีไซน์ที่สวยงามและการซ่อนเสาอากาศ ส่วนบ้านที่สนใจเรื่องราคาเป็นหลักก็จะใช้เซ็นเซอร์รุ่น DM22 ที่ราคาถูกกว่า และสามารถส่งสัญญาณได้ไกลกว่า
สำหรับเซ็นเซอร์รุ่น DM31 เป็นเซ็นเซอร์รุ่นเดียวที่ตัวจับแม่เหล็กสามารถอยู่ใน ระยะห่างกันได้สูงสุดถึง 2-3ซม. จึงเหมาะกับการติดตั้งกับประตูขนาดใหญ่เช่น ประตูทึบ ประตูม้วน ประตูอะลูมิเนียมเปิดปิดสองด้าน ซึ่งตัวเซ็นเซอร์ที่ส่งสัญญาณจะสามารถติดตั้งห่างจากจุดที่แม่เหล็กอยู่ได้ ทำให้เซ็นเซอร์ยังสามารถทำงานได้ดีกับประตูขนาดใหญ่ หรือประตูที่มีความห่างของช่องประตูมาก
เซ็นเซอร์ตรวจจับความเคลื่อนไหว/PIR motion sensor
สำหรับคำแนะนำในการติดเซ็นเซอร์ตรวจจับความเคลื่อนไหว ถ้าหากบ้านของลูกค้าได้ติดเซ็นเซอร์ประตูหน้าต่างครอบคลุมทุกจุดเข้าออกของบ้านแล้ว เราจะแนะนำให้ติดเซ็นเซอร์ความเคลื่อนไหวแค่ชั้นละ 1จุด บริเวณจุดที่ต้องเดินผ่านของชั้นนั้น. สำหรับบ้านตัวอย่างนี้ มี 2ชั้น เราจึงวางแนวทางให้ติดที่โถงชั้น1ก่อนขึ้นบันได เนื่องจากเป็นจุดที่แน่นอนว่าถ้ามีผู้บุกรุกเข้ามา ก็ต้องเดินผ่านเพื่อขึ้นไปยังจุดเก็บทรัพย์สินคือชั้น2 และบริเวณชั้น2ก่อนเข้าแต่ละห้อง เพื่อจับก่อนเข้าห้องต่างๆ แต่ทำไมถึงไม่ติดในห้องนอนเลยล่ะ? คำตอบก็คือ เนื่องจากเซ็นเซอร์เหล่านี้จะมีการส่งแสงสีแดงเมื่อมีการตรวจจับทุกครั้ง ซึ่งแสงสีแดงนี้อาจรบกวนเจ้าบ้านในยามค่ำคืนได้ จึงแนะนำการติดในจุดโถงของชั้น2ดีกว่า เพราะถึงแม้จะเป็นเคสว่าผู้บุกรุกเข้าทางห้องนอน สุดท้ายผู้บุกรุกก็จะข้ามไปห้องอื่นเพื่อหาทรัพย์สิน หรือเดินลงทางชั้น1 ก็จะทำให้เซ็นเซอร์ตรวจจับได้อยู่ดี
สำหรับลูกค้าที่กลัวเคสที่ผู้บุกรุกจะไม่เปิดประตูหน้าต่างเข้ามาตามที่เราติดตั้ง เซ็นเซอร์ความเคลื่อนไหวก็จะเป็นอีกตัวหนึ่งที่ช่วยกรองการตรวจจับกรณีผู้บุกรุกเข้าผ่านกระจกมาโดยไม่เปิดประตูได้อีกด้วย
เซ็นเซอร์แต่ละรุ่นเหมาะกับการใช้งานแบบไหน
เซ็นเซอร์รุ่นPR30เป็นเซ็นเซอร์ที่นิยมใช้สูงสุด ด้วยการดีไซน์ที่สวยงามและการซ่อนเสาอากาศรวมถึงการมีสวิตซ์เปิดปิดในตัว สามารถปรับความถี่ในการตรวจจับได้ และสามารถทำงานได้อย่างเสถียร
สำหรับเซ็นเซอร์ในกลุ่มนี้จะเป็นเซ็นเซอร์ที่เหมาะกับบ้านที่ เลี้ยงสัตว์เลี้ยง หรือมีความต้องการใช้งานภายนอกบ้าน โดยจะเป็นเซ็นเซอร์กลุ่มที่สามารถกรองการตรวจจับสัตว์เลี้ยงที่มีขนาดและน้ำหนักไม่เกินที่กำหนด รวมไปถึงมีคุณสมบัติในการป้องกันน้ำในรุ่น PR88
กล่องควบคุม/Control panel
สำหรับแนวทางในการเลือกกล่องควบคุมนั้นจะขึ้นอยู่กับความต้องการของลูกค้า ว่ามีการต้องการการแจ้งเตือนแบบไหนบ้าง ก็จะมีรูปแบบที่แบ่งได้ประมาณ 4รูปแบบคือ
1. การแจ้งเตือน ณ จุดเกิดเหตุเพียงอย่างเดียว (DM02,SI08)
2. การแจ้งเตือน ณ จุดเกิดเหตุและผ่านแอพพลิเคชั่นบนมือถือ (CS08,CS05)
3. การแจ้งเตือน ณ จุดเกิดเหตุและผ่านการโทรศัพท์ด้วยเสียงและการส่งข้อความSMS (CG18)
4. การแจ้งเตือน ณ จุดเกิดเหตุ และผ่านแอพพลิเคชั่น และการโทรด้วยเสียง และข้อความ SMS (CW30,CW22,CW18)
แต่หากคุณลูกค้ายังมีข้อสงสัย หรือยังไม่สามารถจัดชุดสินค้าได้ และต้องการคำปรึกษาจากเรา สามารถติดต่อเราเข้ามาได้ทุกช่องทางการติดต่อเลยครับ ทั้ง
Facebook/jlhome.th หรือ
LINE @JLhome
พวกเรา JL home ยินดีให้คำปรึกษาครับ